วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

หาดทรายดำสุดมหัศจรรย์


หาดทรายดำสุดมหัศจรรย์

          หาดทรายดำ ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากระบบนิเวศของธรรมชาติ ปัจจุบันมีเพียง 5 แห่งในโลก ซึ่งหนึ่งในห้านั้นก็ ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแหลมมะขาม อำเภอแหลมงอบ จ.ตราด ดินแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย หาดทรายดำหรือหาดหัวสวน แห่งนี้ มีความเชื่อกันว่า หาดทรายดำสามารถรักษาโรคได้ เพียงแค่ไปนอนหมกตัวอยู่ในทราย ด้วยความเชื่อนี้ทำให้เกิดเสียงเล่าลือกันไปต่าง ๆ นา ๆ จนทำให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างแห่กันมาที่หาดทรายดำกันมากขึ้น

หาดทรายดำ

      ในปัจจุบันระบบนิเวศโดยรอบของหาดทรายดำซึ่งเป็นป่าชายเลนนั้น มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก ทำให้ทางจังหวัดตราด พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตราด มีการเปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติหาดทรายดำขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับความมหัศจรรย์และยังได้ความรู้ต่าง ๆ ของระบบนิเวศป่าชายเลน จากป้ายต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ตลอดเส้นทาง หากใครจะไปสัมผัสกับหาดทรายดำต้องดูช่วงเวลาน้ำขึ้น น้ำลงให้ดี เพราะถ้าไปช่วงน้ำลง ท่านจะได้เห็นหาดทรายดำที่กว้างใหญ่ สามารถลงไปสัมผัส และเก็บภาพสวย ๆ ได้แต่ถ้าไปในช่วงน้ำขึ้น จะถือว่ามาเสียเที่ยว ยังไงก็เลือกช่วงเวลากันให้ดี ๆ นะครับ

อ้างอิง : http://travel.mthai.com/region/east/116095.html

บ้านน้ำเชี่ยว ตราด

         บ้านน้ำเชี่ยว สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้ ซึ่งพี่น้องทั้งสอง ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย


จุดเด่น และกิจกรรมท่องเที่ยว
  1.วัดน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เดิมชื่อวัดอินทาราม เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาประทับ ปัจจุบัน วัดน้ำเชี่ยวได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๔๘ ภายในวัดมี พระบรมสารีริกธาตุและพระประจำวันเกิดปางต่างๆ ซึ่งประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามากราบไหว้ได้
  2.มัสยิดอัลกุบรอ กลุ่มชาวไทยมุสลิม ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือน ตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้าย จากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว
  3.ศูนย์ศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลน จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว และสถานีพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลนที่ 4 (น้ำเชี่ยว ตราด) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนให้มีศักยภาพ สามารถใช้เป็นเรียนรู้ แหล่งศึกษาวิจัยของ เยาวชนและประชาชน และเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพื่อให้พื้นที่ป่าชายเลน มีสภาพที่ อุดมสมบูรณ์ ภายในศูนย์มีหอดูนกที่สามารถส่องดูนกได้ มีสัตว์หลากหลาย เช่น ลิงเสม ปู ปลา นอกจากนี้สามารถชมหิ่งห้อย ได้ในยามค่ำคืนอีกด้วย


   กิจกรรมท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต.น้ำเชี่ยวจัดตั้งขึ้นประมาณต้นปี 2549 ณ.หมู่ 1บ้านท้ายเขา ต.น้ำเชี่ยว มีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วย
1.สะพานชมธรรมชาติ
2.หอดูนก
3.ล่องเรือเล็กชมวิถีชีวิตชาวประมง เช่นการถีบกระดานเก็บหอยแครง/แมลงภู่ การเลี้ยงปลาในกระชัง การดำหอยปากเป็ด การเลี้ยง หอยนางรม
4.พักโฮมเสตย์ 5.ล่องเรือชมหิ่งห้อย
5.ชมสาทิตการทำงอบใบจาก
6.ชมสาทิตการทำน้ำตาลชัก
7.ชมวิถีชีวิตชาวพุทธและมุสลิมที่อยู่กันแบบสันติ 8ลงเรือใหญ่ฯลฯ

อ้างอิง : http://www.paiduaykan.com/province/east/trat/baananmcheaw.html

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เกาะหมาก

       เกาะหมาก เกาะที่ยังคงความเป็นธรรมชาติท่ามกลางท้องทะเลอันกว้างใหญ่ของฝั่งอ่าวไทย เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามในท้องทะเลตราด รองลงมาจากเกาะช้างและเกาะกูด อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร นั่งเรือสปีดโบ้ทจากฝั่งแค่ 50 นาทีก็ถึงแล้ว


       เกาะหมากมีรูปร่างคล้ายดาวสี่แฉก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสวนมะพร้าว โดยรอบมีอ่าว ชายหาดที่สวยงามและน้ำใสสะอาด เกาะที่เป็นสวรรค์สำหรับผู้รักความสงบแต๋ก็ยังไม่ละทิ้งซึ่งความสบาย หากคุณชื่นชอบการพักผ่อนอันเงียบสงบ ใกล้ชิดชายหาดและทะเลอันสวยงาม เกาะหมากเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เกาะที่มีฟ้าสีคราม น้ำทะเลใส หาดทรายขาว ทิวมะพร้าวเขียว



อ้างอิง : http://www.ilovekohmak.com/

เกาะรัง



        เกาะรัง เป็นเกาะเล็กๆที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะรัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เป็นเกาะที่มีสีสันของท้องทะเลอันสวยงาม น้ำทะเลใสๆ ทำให้มองเห็นสีสันของแนวปะการังและโขดหินใต้น้ำ มีหาดทรายอันขาวละเอียด บริเวณรอบๆ หมู่เกาะรังมีเกาะน้อย ใหญ่อยู่จำนวนมาก ได้แก่ เกาะรังใหญ่ เกาะรังเล็ก เกาะกระ เกาะเทียน เกาะทองหลวง เกาะยักษ์ เกาะสามพี่น้อง เกาะมะปริง เกาะตุ๊น และเกาะกำปั่น เป็นต้น ซึ่งเกาะต่าง ๆ เหมาะแก่การดำน้ำดูปะการังท่ามกลางฝูงปลาแหวกว่าย



         เกาะรังจะถูกแบ่งออกเป็นสองเกาะเล็กๆ แยกกัน คือ เกาะรังฝั่งทางด้านเหนือ เรียกว่าหาดศาลเจ้า ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดดำน้ำเกาะยักษ์ ซึ่งเกาะฝั่งนี้จะมี หาดทรายที่ขาวละเอียด น้ำใส เกาะฝั่งนี้จะไม่มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ และเกาะรัง อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.5 (เกาะรัง)มีแหล่งน้ำจืด มีที่พักของอุทยนาน สามารถกางเต็นท์พักค้างแรมได้


อ้างอิง : http://www.paiduaykan.com/province/east/trat/kohrang.html


เกาะกูด


    ในวันที่อากาศแปรปรวน ชวนให้หัวใจเราปรวนแปร เหงาบ้าง เศร้าบ้าง มีความสุขบ้าง ก็ว่ากันไปตามอารมณ์ แต่...แต่...แต่...ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่เราจะมานั่งเหงาหรือนั่งหงอยกันนะคะ แทน แท่น แท้น... เราขอแนะนำให้เพื่อน ๆ รู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวที่จะทำให้เราพบกับความสุขอย่างแท้จริง นั่นคือ "เกาะกูด" เกาะที่ได้รับการขนานนามว่า "อันดามันแห่งทะเลตะวันออก" เพราะมีน้ำทะเลสีใสมรกตนั่นเอง



"เกาะกูด" เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทย ในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด และเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราด 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,625 ไร่ (โห...ใหญ่จริง ๆ ด้วย) โดยมีขนาดความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร และขนาดความกว้าง 12 กิโลเมตร





ทั้งนี้ ทางฝั่งตะวันตกของเกาะตั้งแต่อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ แหลมหินดำ หาดคลองเจ้า หาดง่ามโข่ แหลมบางเบ้า หาดอ่าวพร้าว ไปจนสุดปลายแหลมเทียน และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันออกที่น่าสนใจ ได้แก่ อ่าวสับปะรด แหลมศาลา อ่าวยายเกิด อ่าวคลองหิน อ่าวจาก ล้วนแต่เป็นหาดที่มีหาดทรายสวยงาม และน้ำทะเลใส มีธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบท่องเที่ยว และพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ



อ้างอิง : http://travel.kapook.com/view619.html

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เกาะช้าง




        เกาะช้าง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต แถมยังมีเกาะเล็กเกาะใหญ่ มากกว่า 52 เกาะ ให้เลือกว่าจะไปนอนกินลมชมวิวสวยๆ ที่ไหนอีกทั้งบน เกาะช้าง ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำแบบไม่มีเหงาแต่เดิม เกาะช้าง ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยหากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหารและน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัดเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวนปัจจุบันบน เกาะช้าง มีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น650 ตารางกิโลเมตร เฉพาะ เกาะช้าง มีเนื้อที่ถึง 268,125 ไร่ หรือประมาณ429 ตารางกิโลเมตร




          สภาพโดยรวมบน เกาะช้าง นั้นมีพื้นที่กลางเกาะเป็นภูเขา และป่าดิบชื้นมีที่ราบอยู่ตามขอบเกาะก่อนถึงชายหาดของอ่าวต่าง ๆที่ราบเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว สวนยางพารา และสวนผลไม้อื่น ๆ เช่นเงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฯลฯ ตลอดจนเปิดเป็น ที่พักเกาะช้าง ของนักท่องเที่ยวแต่ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ของ เกาะช้าง เป็นภูเขาสูง มีหินผาสลับซับซ้อนมีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าดงดิบเขา ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ ยอดเขาสลักเพชรสูงถึง 744 เมตร (โห... สูงมาก ๆ เลยอ่ะ) รองลงมา ได้แก่ เขาจอมปราสาทและเขาหอม ซึ่งภูเขาเหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำและลำธารต่าง ๆที่ทำให้เกิดน้ำตกหลายแห่งบน เกาะช้าง นี้นั่นเอง



อ้างอิง : http://travel.kapook.com/view347.html

อนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้าง




          จัดสร้างขึ้นบริเวณชายทะเลแหลมงอบ มีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ผันพระพักตร์ไปยังบริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง มีการจัดบริเวณและอาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบ ด้านในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส รอบ ๆ บริเวณอนุสรณ์สถานได้จัดเป็นสวนสำหรับพักผ่อน และจะมีงานฉลองเพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทย ระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม ของทุกปี


อ้างอิง : http://thai.tourismthailand.org

แหลมงอบ



    

          แหลมงอบ เป็นอำเภอเลียบชายหาดและอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ ทั้งท่าเรือเฟอรร์รี่ที่สามารถนำรถข้ามไปเกาะช้าง และเรือบริการเช่า/เหมา สามารถเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่างๆ ได้เช่น เกาะช้างเกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีร้านขายของที่ระลึก และอาหารทะเล กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง รวมทั้งงอบแบบต่างๆด้วยและบริเวณรอบๆชายฝั่งยังเต็มไปด้วยป่าชายเลน ที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน



อ้างอิง : http://www.tradnews.com/tourist_attraction_th.html




วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดบุปผารามจังหวัดตราด



วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดปลายคลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2191) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุในวัด จวบจนปัจจุบันท่านพระครูสุวรรณสารวิบูลพร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สะอาดเรียบร้อย วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่


     พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าไว้มากมายโดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นมงคลสูงสุด คู่บ้านเมือง มีพระพุทธรูปทองบุเงิน พระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป กลองมโหรทึก แสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองท่าชายฝั่งตะวันออกกับเมืองท่าโพ้นทะเลในแถบเอเชียอาคเนย์ข้ามไปไกลถึงซีกโลกตะวันตก เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

     ภาพจิตรกรรม ฝาผนังในโบสถ์ และวิหารพระพุทธไสยาสน์เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นแต่ล้วนแล้วผสมกลมกลืนด้วยศิลปจีน และวรรณคดีจีน แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก (พ่อค้าชาวจีนอพยพทางเรือมาที่เมืองตราดตั้งแต่สมัยอยุธยา บ้างอพยพจากอยุธยา กรุงเทพฯ เวียดนาม บ้างก็มาจากมาเลเซีย สิงคโปร์)

     นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่น่าชมภายในวัด คือ หมู่กุฏิเล็กทรงไทย ที่สร้างได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติมีขนาดพอแค่ภิกษุอยู่ได้รูปเดียวเท่านั้น คนในท้องถิ่นเมื่อให้ลูกหลานบวชเรียนที่วัดก็จะสร้างกุฏิให้พร้อม เสร็จแล้วช่วยกันหามแห่มาที่วัดในวันทำพิธีบวช หอสวดมนต์ เป็นศาลาไม้ยกพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องเคลือบชั้นเดียว ชายคาปีกนก หน้าบันไม้จำหลักปิดทองลายเทพนม ฝาประกน เสาไม้แปดเหลี่ยม เจดีย์ เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส วิหารฝากระดาน ก่ออิฐ ถือปูน รูปเรือสำเภา เช่นเดียวกับฐานโบสถ์วิหาร สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หลังคาชั้นเดียว ฝาผนังไม้ เป็นต้น โทร. 0 3951 2636


การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร



อ้างอิง : http://tradnews.com/tourist_attraction_th.html


อ่างเก็บน้ำเขาระกำ





          เป็นแหล่งน้ำที่เป็นเสมือนหัวใจของชาวตราด  เกิดจากพื้นที่ธรรมชาติที่เป็นหุบเขา  ประกอบด้วย เขาระกำ  เขาไม้ชี้  และเขามะปริง  ตั้งอยู่ในเขตสามอำเภอ  ได้แก่ อ.เมืองตราด  อ.เขาสมิง  และ อ.แหลมงอบ  เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่  เก็บกักน้ำไว้เพื่อการเกษตร  ลดปัญหาน้ำท่วม  เป็นแหล่งน้ำผลิตน้ำประปาในตัวจังหวัดและ อ.แหลมงอบ  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและแพร่พันธุ์ปลาให้เติบโตตามแหล่งน้ำธรรมชาติ  บริการน้ำให้แก่กองทุนสวนยางจำนวน 350 ไร่  และยังทำหน้าที่ส่งน้ำมายังอ่างเก็บน้ำเขาระกำขยาย  ครอบคลุมพื้นที่เกษตร 17,500 ไร่  อ่างเก็บน้ำเขาระกำขยาย เป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่หลังวัดโยธานิมิต  ห่างจากอ่างเก็บน้ำเขาระกำ 10 ก.ม. อยู่ที่บ้านเกาะกันเกรา ต.หนองเสม็ด อ.เมืองตราด  จัดเป็นที่พักผ่อนที่ใกล้และสะดวก  เป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำจำนวนนับพันในบางฤดูกาล


อ้างอิง : http://www.tradnews.com/tourist_attraction_th.html

โบราณสถานเรสิดังกัมปอร์ต


เรสิดังกัมปอร์ต




           ตั้งอยู่ที่ถนนหลักเมือง เขตเทศบาลเมืองตราด อ.เมือง จ.ตราด เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 ชั้น หลังคาปั้นหยาลดชั้น เคยใช้เป็นที่พำนักของข้าหลวงฝรั่งเศส ผู้ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ปกครองจ.ตราด ในระหว่างปี พ.ศ.2453-2464 ได้กลายเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อปี พ.ศ.2450-2471 ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้ใช้เป็นสำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม แต่ยังคงรูปแบบและประติมากรรมเดิมไว้ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ในวันและเวลาราชการ 
             โบราณสถานเรสิดังกัมปอร์ต ถือว่าเป็นสถานที่เป็นประวัติศาสตร์ ชาติกำเนิดของจังหวัดตราดเเละเรสิดังกัมปอร์ต ยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์


อ้างอิง : http://www.tradnews.com/tourist_attraction_th.html

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง




          เป็นสถานที่ที่ประชาชนเคารพสักการะกราไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลกันมาก มีสถาปัตยกรรมแบบจีนที่งดงาม โดดเด่นและแตกต่างจากศาลหลักเมืองในจังหวัดอื่นๆ ทั่วไป ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเดินทางมายังเมืองตราดเพื่อรวบรวมไพร่พลนั้นทรงให้ตั้งศาลหลักเมืองนี้ขึ้นตามความเชื่อแบบจีน เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องคุ้มครองเมืองและประชาชนให้รอดพ้นจากอันตราย และอยู่เย็นเป็นสุข และเป็นศาลหลักเมืองที่อยู่คู่เมืองตราดนับตั้งแต่นั้นมา.....
          
           มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้ว่า เมื่อครั้งฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองตราดนั้น ทหารฝรั่งเศสเห็นว่าประชาชนต่างพากันเคารพกราบไหว้สักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้กันมาก จึงต้องการทำลายขวัญและกำลังใจของประชาชน โดยสั่งให้ถอนเสาหลักเมืองนี้ทิ้งไป แต่ด้วยปาฏิหาริย์ของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้น ทำให้ไม่สามารถถอนเสาหลักเมืองขึ้นมาได้ จึงมีการสั่งให้เผาศาลทิ้ง ปรากฏมีฟ้าผ่าและฝนตกลงมาอย่างหนัก จะด้วยความเกรงกลัวหรือเหตุใดไม่ทราบ นายทหารฝรั่งเศสที่ควบคุมกำลังมาจึงได้สร้างเสาหลักเมืองเพิ่มขึ้นอีก 1 ต้น จึงเป็นที่มาที่ศาลแห่งนี้มีเสาหลักเมือง 2 ต้น



อ้างอิง : http://www.tradnews.com/tourist_attraction_th.html

โครงงานการท่องเที่ยวจังหวัดตราด


ข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์

ชื่อโครงงานเว็บบล็อก เรื่อง โครงงานการท่องเที่ยวจังหวัดตราด

ชื่อผู้ทำโครงงาน
1ด.ญ ลักขณา  จันเยือน 
เลขที่ 31
2.ด.ญ พัชริดา ไชยศรี เลขที่ 26
3.ด.ญ มารุณี อ่อนรอด เลขที่ 28
4.ด.ญ ธัญลักษณ์  สวนสวรรค์ เลขที่ 16
5.ด.ช  เดชนรินทร์   สุขสวัสดิ์ เลขที่ 12

จัดทำโดย
  
 นางศิริรัตน์  นำไทย

โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม จังหวัดตราด
           ระยะเวลาดำเนินงานภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558          
    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)