วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

บ้านน้ำเชี่ยว ตราด

         บ้านน้ำเชี่ยว สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้ ซึ่งพี่น้องทั้งสอง ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย


จุดเด่น และกิจกรรมท่องเที่ยว
  1.วัดน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เดิมชื่อวัดอินทาราม เป็นวัดที่รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาประทับ ปัจจุบัน วัดน้ำเชี่ยวได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๔๘ ภายในวัดมี พระบรมสารีริกธาตุและพระประจำวันเกิดปางต่างๆ ซึ่งประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามากราบไหว้ได้
  2.มัสยิดอัลกุบรอ กลุ่มชาวไทยมุสลิม ครั้งแรกมาอยู่ที่ตำบลน้ำเชี่ยวแห่งเดียว ตามที่ พระบริหารเทพธานีสันนิษฐานไว้ว่า “ชนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสงครามกับญวนในประเทศเขมร ตรงกับรัชกาลที่ 3 มีการเรียนภาษาเขียนที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีการสร้างสุเหร่าหรือมัสยิดครั้งแรกที่บ้านน้ำเชี่ยว โดยใช้ ไม้โกงกางมาปักเป็นเขต 4 ต้น หลังคามุงด้วยใบปรง นำมาสานเป็นตับเหมือน ตับจากมุงกันแดด กันฝน ต่อมาเมื่อชาวมุสลิมตั้งหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ได้ต่อเติมสุเหร่าให้มีสภาพดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้เคลื่อนย้าย จากที่ตั้งเดิมแต่อย่างใด” ซึ่งสุเหร่าแห่งนี้ ปัจจุบันมีชื่อว่า “มัสยิดอัลกุบรอ” ตั้งอยู่ริม คลองน้ำเชี่ยว
  3.ศูนย์ศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลน จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว และสถานีพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลนที่ 4 (น้ำเชี่ยว ตราด) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลนให้มีศักยภาพ สามารถใช้เป็นเรียนรู้ แหล่งศึกษาวิจัยของ เยาวชนและประชาชน และเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพื่อให้พื้นที่ป่าชายเลน มีสภาพที่ อุดมสมบูรณ์ ภายในศูนย์มีหอดูนกที่สามารถส่องดูนกได้ มีสัตว์หลากหลาย เช่น ลิงเสม ปู ปลา นอกจากนี้สามารถชมหิ่งห้อย ได้ในยามค่ำคืนอีกด้วย


   กิจกรรมท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต.น้ำเชี่ยวจัดตั้งขึ้นประมาณต้นปี 2549 ณ.หมู่ 1บ้านท้ายเขา ต.น้ำเชี่ยว มีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วย
1.สะพานชมธรรมชาติ
2.หอดูนก
3.ล่องเรือเล็กชมวิถีชีวิตชาวประมง เช่นการถีบกระดานเก็บหอยแครง/แมลงภู่ การเลี้ยงปลาในกระชัง การดำหอยปากเป็ด การเลี้ยง หอยนางรม
4.พักโฮมเสตย์ 5.ล่องเรือชมหิ่งห้อย
5.ชมสาทิตการทำงอบใบจาก
6.ชมสาทิตการทำน้ำตาลชัก
7.ชมวิถีชีวิตชาวพุทธและมุสลิมที่อยู่กันแบบสันติ 8ลงเรือใหญ่ฯลฯ

อ้างอิง : http://www.paiduaykan.com/province/east/trat/baananmcheaw.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น